Welcome to Hayatee blog

วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ความหมายระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์


ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ( Computer Network ) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล หรือสื่ออื่นๆ ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถรับส่งข้อมูลแก่กันและกันได้ในกรณีที่เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เป็นศูนย์กลาง เราเรียกคอมพิวเตอร์ที่เป็นศูนย์กลางนี้ว่า โฮสต์ (Host) และเรียกคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่เข้ามาเชื่อมต่อว่า ไคลเอนต์ (Client)ระบบเครือข่าย (Network) จะเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อการติดต่อสื่อสาร เราสามารถส่งข้อมูลภายในอาคาร หรือข้ามระหว่างเมืองไปจนถึงอีกซีกหนึ่งของโลก ซึ่งข้อมูลต่างๆ อาจเป็นทั้งข้อความ รูปภาพ เสียง ก่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็วแก่ผู้ใช้ ซึ่งความสามารถเหล่านี้ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีความสำคัญ และจำเป็นต่อการใช้งานในแวดวงต่างๆ
แล้วทำไมเราถึงต้องใช้เครือข่าย หรือระบบคอมพิวเตอร์เครือข่าย การที่เรานำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกัน เราจะสามารถใช้ประโยชน์จากระบบ หรือระบบสามารถทำอะไรได้บ้าง ทำให้ใช้ทรัพยากร ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ร่วมกันได้ (Resources Sharing) ซึ่งเป็นการช่วย ประหยัดค่าใช้จ่าย และเพิ่มความสะดวก ในการใช้งาน เช่น การใช้พื้นที่บนฮาร์ดดิสก์ และเครื่องพิมพ์ร่วมกันสามารถบริหารจัดการการทำงานของคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง ได้จากศูนย์กลาง (Centralized Management) เช่น สร้างเวิร์กกรุป กำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูล และสามารถทำการ สำรองข้อมูล ของแต่ละเครื่องได้ สามารถทำการสื่อสาร ภายในเครือข่าย (Communication) ได้หลายรูปแบบ เช่น อีเมล์, แชท (Chat), การประชุมทางไกล (Teleconference), และ การประชุมทางไกล แบบเห็นภาพ (Video Conference)มีระบบรักษาความปลอดภัย ของข้อมูล บนเครือข่าย (Network Security) เช่นสามารถ ระบุผู้ที่มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล ในระดับต่างๆ ป้องกันผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาติ เข้าถึงข้อมูล และให้การคุ้มครอง ข้อมูลที่สำคัญ ให้ความบันเทิงไม่รู้จบ (Entertainment) เช่น สามารถสนุกกับ การเล่นเกมส์ แบบผู้เล่นหลายคน หรือที่เรียกว่า มัลติ เพลเยอร์(Multi Player) ที่กำลัง เป็นที่นิยมกันอยู่ในเวลานี้ได้
ใช้งานอินเทอร์เน็ตร่วมกัน (Internet Sharing) เพียงต่อเข้าอินเทอร์เน็ต จากเครื่องหนึ่งในเครือข่าย โดยมีแอคเคาท์เพียงหนึ่งแอคเคาท์ ก็ทำให้ผู้ใช้อีกหลายคน ในเครือข่ายเดียวกัน สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ เสมือนกับมีหลายแอคเคาท์
ฯลฯ





ประโยชน์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์


การนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายที่เรียกกันว่าเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั้นก่อให้เกิดประโยชน์ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศดังนี้

การใช้ข้อมูลร่วมกัน
    ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะมีการจัดการด้านข้อมูลสารสนเทศโดยจะเก็บข้อมูลไว้เป็นฐานข้อมูลเพื่อให้สามารถ จัดการกับข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เช่น
    ข้อมูลนักเรียนของโรงเรียนจะถูกจัดเก็บไว้เป็นฐานข้อมูลของระบบงานทะเบียนนักเรียน เมื่อมีการตรวจสอบผลการเรียนในรายวิชาต่างๆ เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ที่อยู่ในระบบเครือข่ายก็สามารถเข้าตรวจสอบได้ทันทีด้วยความรวดเร็ว รวมทั้งการแก้ไข ปรับปรุง เพิ่มเติมข้อมูลนักเรียนก็จะทำได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน
    หรือ ข้อมูลหนังสือในห้องสมุด ก็จะมีการจัดเก็บเป็นฐานข้อมูลหนังสือห้องสมุด สามารถให้บริการยืมคืน สืบค้นข้อมูล แก้ไขปรับปรุง เมื่อมีหนังสือใหม่เข้ามาก็สามารถเพิ่มเติมได้อย่างรวดเร็ว ทำให้สามารถบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การใช้ทรัพยากรร่วมกัน 
ทรัพยากรในระบบงานคอมพิวเตอร์บางอย่าง เช่น เครื่องพิมพ์  ถ้าติดตั้งไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายและกำหนดให้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดในระบบเครือข่ายเข้ามาใช้ได้ เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆในระบบเครือข่ายก็สามารถสั่งพิมพ์งานมาที่เครื่องพิมพ์เครื่องนี้ได้ทันที เป็นการประหยัดทรัพยากร เพราะทรัพยากรบางอย่างเช่นเครื่องพิมพ์มีราคาแพง และไม่ได้ใช้งานตลอดเวลา

การติดต่อสื่อสารระหว่างกัน
      ในระบบเครือข่ายเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องสามารถติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้ ทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์สามารถถ่ายโอนข้อมูลระหว่างกันได้ หรือสามารถส่งข่าวสารถึงกัน ร่วมไปถึงการพูดคุยกันผ่านระบบเครือข่ายได้ทันที โดยอาศัยเทคโนโลยีด้านซอฟต์แวร์ในการติดต่อสื่อสาร เช่น การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ การใช้เว็บบอร์ด การใช้ Chat เป็นต้น

การใช้ระบบสำนักงานอัตโนมัติ 
 ระบบสำนักงานอัตโนมัติคือระบบงานที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อสื่อสารกันโดยผ่านระบบเครือข่ายแทนการใช้กระดาษ ซึ่งจะเป็นการช่วยในการประหยัดกระดาษในการติดต่อสื่อสาร และยังช่วยในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอีกด้วยเพราะในการผลิตกระดาษจะต้องมีการตัดไม้มาใช้ในกระบวนการผลิต เช่น เมื่อต้องการส่งเอกสารหนังสือคำสั่ง หรือจดหมาย ถึงกัน ก็พิมพ์เอกสารด้วยคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป แล้วส่งผ่านระบบเครือข่ายไม่ต้องพิมพ์ลงบนกระดาษ


การใช้แหล่งเรียนรู้ร่วมกัน 
ในระบบเครือข่ายสามารถสร้างแหล่งเรียนรู้ต่างๆในรูปแบบต่างๆ แล้วนำมาเก็บไว้ในระบบเครือข่าย เมื่อต้องการอ่านหรือเรียนรู้ในเรื่องใด ก็สามารถเข้ามาศึกษาได้


ประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งเป็นประเภทตามขนาด และรูปแบบการใช้งานได้ดังต่อไปนี้

1. เครือข่ายแลนหรือเครือข่ายเฉพาะที่ (LAN หรือ Local Area Network)
เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระยะใกล้ภายในสำนักงาน หรืออาคารเดียวกัน หรืออาคารที่อยู่ใกล้กันโดยใช้ สายสัญญาณ ได้แก่ สายโทรศัพท์ สายโคแอกเชียล หรือ สายใยแก้วนำแสงตัวอย่างเช่น เครือข่ายภายในมหาวิทยาลัย ภายในอาคารหรือบริษัทเดียวกัน ระบบเครือข่ายท้องถิ่น สามารถเพิ่มประสิทธิภาพ การปฏิบัติงาน ในด้านการใช้ทรัพยากร ของระบบร่วมกัน หรือสามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นได้ ระบบ LAN ช่วยให้มีการติดต่อกันได้สะดวก ช่วยลดต้นทุน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ร่วมกัน และใช้ข้อมูลร่วมกันได้อย่างคุ้มค่า


2. เครือข่ายแมนหรือเครือข่ายบริเวณนครหลวง (MAN หรือ Metropolitan Area Network)

เป็นระบบเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่กว่าเครือข่ายท้องถิ่น แต่อาจเชื่อมต่อกันด้วยระบบการสื่อสารสำหรับสาขาหลาย ๆ แห่งที่อยู่ภายในเขตเมืองเดียวกันหรือหลายเขตเมืองที่อยู่ใกล้กัน ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร เช่นการให้บริการทั้งของรัฐและเอกชน อาจเป็นบริการภายใน หน่วยงานหรือเป็นบริการสาธารณะก็ได้ รวมถึงการให้บริการระบบโทรทัศน์ทางสาย (Cable television) เช่น บริษัท UBC ซึ่งเป็นระบบที่มีสายเคเบิลเพียงหนึ่งหรือสองเส้นโดยไม่มีอุปกรณ์สลับช่องสื่อสาร (switching element) ทำหน้าที่เก็บกักสัญญาณหรือปล่อยสัญญาณออกไปสู่ระบบอื่น มาตรฐานของระบบ MAN คือ IEEE 802.6 หรือเรียกว่า DQDB (Distributed Queue Dual Bus)
      ตัวอย่างการใช้งานจริง เช่น ภายในมหาวิทยาลัยหรือในสถานศึกษาจะมีระบบแมนเพื่อเชื่อมต่อระบบแลนของแต่ละคณะวิชาเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายเดียวกันในวงกว้าง เทคโนโลยีที่ใช้ในเครือข่ายแมนได้แก่ ATM, FDDI และ SMDS ระบบเครือข่ายแมนที่จะเกิดในอนาคตอันใกล้ คือระบบที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ภายในเมืองเข้าด้วยกันโดยผ่านเทคโนโลยี Wi-Max

3. เครือข่ายแวนหรือเครือข่ายบริเวณกว้าง (WAN หรือ Wide Area Network)
เป็นระบบที่มีขอบเขตการใช้งานกว้างกว่า   ไกลกว่าระบบแลน  ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นระบบที่ไร้ขอบเขตแล้ว  เช่น ระบบการสื่อสารข้อมูลผ่านดาวเทียมของสถานีโทรทัศน์ต่าง ๆ แต่การที่จะเชื่อมต่อเครือข่ายที่มีระยะห่างกันมาก ๆ ให้เป็นเครือข่ายเดียวกันทั้งหมดนั้นจำเป็นต้องอาศัยเครือข่ายสาธารณะ (Public Networks) ที่ให้บริการการสื่อสาร  โดยเชื่อมต่อผ่านโมเด็ม  ผ่าน เครือข่ายโทรศัพท์สาธารณะ  (Public Switching Telephone Network ; PSTN) ซึ่งมีทั้งลักษณะต่อโมเด็มแบบที่ต้องมีการติดต่อก่อน (Dial-up) หรือต่อตายตัวแบบสายเช่า (Lease Line)

ความหมายของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต


ในโลกปัจจุบันพัฒนาการ สุดยอดแห่งยุค สารสนเทศ แทบไม่มีใครไม่รู้จัก สิ่งที่ทำให้โลกไร้พรมแดน เส้นแบ่งเขตประเทศ หรือโซนเวลา คอมพิวเตอร์ ทุกคน ทุกบ้านเรือน เป็นส่วนหนึ่งของอภิมหาเน็ทเวิร์ค ยามเมื่อต่อเข้าบริการอินเทอร์เน็ตแล้ว ก็เปรียบเสมือน เพื่อนข้างโต๊ะทำงาน ติดต่อสื่อสารได้รวดเร็วทันใจ  ชั่วพริบตา ทั้งส่งจดหมาย พูดคุย  ฟังเสียง  ดูภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น เรื่องราวที่เกี่ยวพันกับอภิมหาเน็ทเวิร์คระดับโลก หรืออินเทอร์เน็ต มีแง่มุมที่น่าสนใจ มากมายหลายด้าน และพัฒนาสิ่งใหม่เป็นรายวัน เพื่อให้เครือข่ายยักษ์นี้ ยืนอายุยาวนานตลอดกาล ความเร็วที่เพิ่มมากขึ้น แทบไร้การรอคอย ข้อมูลส่งได้มหาศาลขึ้น และจะเข้ามาเป็น ส่วนหนึ่งของ ชีวิตประจำวันอย่างแน่นอน คล้ายกับ ทีวี ตู้เย็น ฯลฯ เราจะทยอย คัดมานำเสนอเพิ่มขึ้น ทุกๆ เดือน เชิญติดตามอ่านได้เป็นประจำ ที่นี่
อินเทอร์เน็ต (Internet) มาจากคำว่า Inter Connection Network ซึ่งก็คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่ง ที่มีขนาดใหญ่ครอบคลุมทั้งโลก มีคอมพิวเตอร์นับสิบล้านเครื่อง ต่อโยงถึงกัน เสมือนใยแมงมุม โดยใช้ โปรโตคอล (Protocol) หรือ มาตรฐานในการรับส่งข้อมูล ภาพ เสียง ที่มีชื่อว่า ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP : Transmission Control Protocol / Internet Protocol) ซึ่งสามารถเลือก เส้นทางในการติดต่อ ได้หลายๆ เส้นทาง หรือจะเรียกได้ว่า เป็นการสื่อสารแบบไร้มิติ ไซเบอร์เสปซ (CyberSpace)
แนะนำ Internet
อินเตอร์เน็ตคืออะไร เราอาจมองอินเตอร์เน็ตได้สองมุมดังนี้คือ
-เน็ตเวิร์กคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่เน็ตเวิร์กหนึ่ง
-แหล่งข้อมูลขนาดใหญ่

อินเตอร์เน็ตเป็นเน็ตเวิร์กคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่เน็ตเวิร์กหนึ่ง 
โดยที่อินเตอร์เน็ตเป็นชื่อของเน็ตเวิร์กนี้ ที่บอกว่าใหญ่นั้นหมายถึงใหญ่ทั้งในเชิงพื้นที่และเชิงปริมาณ ในเชิงพื้นที่นั้นอินเตอร์เน็ตเป็นเน็ตเวิร์กที่มีขนาดครอบคลุมไปทั่วโลกและทุกทวีป เกือบทุกประเทศที่อยู่ในอินเตอร์เน็ต และประเทศไทยก็เป็นประเทศหนึ่งที่อินเตอร์เน็ตครอบคลุม ส่วนในเชิงปริมาณนั้นหมายถึงจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่หรือเชื่อมโยงกับอินเตอร์เน็ตมีเป็นจำนวนมากมาย ประมาณกันว่าเกินหลักล้าน
ตามจริงแล้วอินเตอร์เน็ตไม่ใช่เน็ตเวิร์กคอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์กเดียว แต่อินเตอร์เน็ตประกอบขึ้นด้วยเน็ตเวิร์กหลาย ๆเน็ตเวิร์กด้วยกัน บางคนจึงเรียกอินเตอร์เน็ตว่า เน็ตเวิร์กของเน็ตเวิร์ก (Network of Networks)
เน็ตเวิร์กคอมพิวเตอร์คงไม่มีประโยชน์อะไรเลยถ้าไม่มีข้อมูลที่ผู้คนต้องการทราบ อินเตอร์เน็ตเป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ คือ มีข้อมูลจำนวนมหาศาลและทุกประเภทเก็บอยู่ และยังมีเครื่องมืออำนวยความสดวกในการค้นหาข้อมูลที่ต้องการด้วย 
ตัวอย่างการใช้ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ต
-วงการศึกษา
-วงการวิทยาศาสตร์
-วงการธุรกิจ

สำหรับในวงการศึกษาแล้วอินเตอร์เน็ตถูกใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ที่ใหญ่ที่สุดและสมบูรณ์ที่สุดทั้งนี้เนื่องจากในอินเตอร์เน็ตมีแหล่งความรู้เป็นจำนวนมากที่ท่านสามารถค้นหาและศึกษาได้อย่างเต็มที่ นอกจากจะศึกษาเองแล้วท่านยังสามารถติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่นทั้งหลายที่สนใจในเรื่องเดียวกับท่าน โดยที่ผู้นั้นจะอยู่ใกล้หรือไกลก็ไม่เป็นปัญหา ครู นักเรียน นักศึกษาสามารถใช้อินเตอร์เน็ตติดต่อสื่อสาร
แลกเปลี่ยนความรู้ความคิดได้อย่างทันทีทันใด โดยที่ไม่จำเป็นต้องเดินทางมาพบกัน มีมหาวิทยาลัยบางแห่งได้เปิดสอนวิชาบางวิชาผ่านทางอินเตอร์เน็ต


ระบบเครือข่ายร่วมปฏิบัติการ
เป็นระบบเครือข่ายทที่ทำให้เกิดการรวมพลังของคอมพิวเตอร์เครือข่ายมาทำงานร่วมกัน ขณะที่มีการนำระบบมาใช้ในงานวิจัยดพื่อถอดรหัสพันธุกรรมมนุษย์คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่กระจายอยู่ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกสามารถสมัครเข้าร่ามโครงการวิจัยได้ และแต่ละเครื่องจะได้รับส่วนเเบบของงานคำนวณมาทำ สมรรถนะของคอมพิวเตอร์ทั้งหมดในเครือข่ายจึงยิ่งกว่าซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ใด ๆ ในโลก ทำให้งานวิจัยสามารถสำเร็จลุล่วงได้ในเพียงไม่กี่ปี แทนที่จะต้องใช้เวลานับสิบ ๆ ปี

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์


ระบบเครือข่าย สามารถเรียกได้ หลายวิธี เช่นตามรูปแบบ การเชื่อมต่อ (Topology) เช่น แบบบัส (bus), แบบดาว (star), แบบวงแหวน (ring) หรือจะเรึยกตามขนาด หรือระยะทางของระบบก็ได้ เช่นแลน (LAN), แวน (WAN), แมน (MAN) นอกจากนี้ ระบบเครือข่าย ยังสามารถ เรียกได้ตาม เทคโนโลยีที่ไช้ ในการส่งผ่านข้อมูล เช่น เครือข่าย TCP/IP, เครือข่าย IPX, เครือข่าย SNA หรือเรียกตาม ชนิดของข้อมูล ที่มีการส่งผ่าน เช่นเครือข่าย เสียงและวิดีโอ
เรายังสามารถจำแนกเครือข่ายได้ ตามกลุ่มที่ใช้เครือข่าย เช่น อินเตอร์เน็ต (Internet), เอ็กซ์ตร้าเน็ต (Extranet), อินทราเน็ต (Intranet), เครือข่ายเสมือน (Virtual Private Network) หรือเรียก ตามวิธีการ เชื่อมต่อทางกายภาพ เช่นเครือข่าย เส้นใยนำแสง, เครือข่ายสายโทรศัพท์, เครือข่ายไร้สาย เป็นต้น จะเห็นได้ว่า เราสามารถจำแนก ระบบเครือข่าย ได้หลากหลายวิธี ตามแต่ว่า เราจะพูดถึง เครือข่ายนั้นในแง่มุมใด เราจำแนก ระบบเครือข่าย ตามวิธีที่นิยมกัน 3 วิธีคือ รูปแบบการเชื่อมต่อ (Topology), รูปแบบการสื่อสาร (Protocol), และ สถาปัตยกรรมเครือข่าย (Architecture)

การจำแนกระบบเครือข่าย ตามรูปแบบการเชื่อมต่อ (Topology) จะบอกถึงรูปแบบ ที่ทำการ เชื่อมต่ออุปกรณ์ ในเครือข่ายเข้าด้วยกัน ซึ่งมีรูปแบบที่นิยมกัน 3 วิธีคือ

แบบบัส (bus)


แบบบัส (bus)

ในระบบเครือข่าย โทโปโลยีแบบ BUS นับว่าเป็นแบบโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือสามารถติดตั้งระบบ ดูแลรักษา และติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมได้ง่าย ไม่ต้องใช้เทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อน ลักษณะการทำงานของเครือข่ายโทโปโลยีแบบ BUS คืออุปกรณ์ทุกชิ้นหรือโหนดทุกโหนด ในเครือข่ายจะต้องเชื่อมโยงเข้ากับสายสื่อสารหลัก ที่เรียกว่า "บัส" (BUS) เมื่อโหนดหนึ่งต้องการจะส่งข้อมูลไปให้ยังอีกโหนด หนึ่งภายในเครือข่าย ข้อมูลจากโหนดผู้ส่ง จะถูกส่งเข้าสู่สายบัส ในรูปของแพ็กเกจ ซึ่งแต่ละแพ็กเกจจะประกอบด้วยตำแหน่งของ ผู้ส่งและผู้รับ และข้อมูล การสื่อสารภายในสายบัส จะเป็นแบบ 2 ทิศทางแยกไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของบัส โดยตรงปลายทั้ง 2 ด้านของบัสจะมีเทอร์มิเนเตอร์ (Terminator) ทำหน้าที่ดูดกลืนสัญญาณ เพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณข้อมูลนั้นสะท้อนกลับ เข้ามายังบัสอีก เป็นการป้องกันการชนกันของสัญญาณ ข้อมูลอื่น ๆ ที่เดินทางอยู่บนบัส สัญญาณข้อมูลจากโหนดผู้ส่ง เมื่อเข้าสู่บัสจะไหลผ่านไปยังปลายทั้ง 2 ข้างของบัส แต่ละโหนดที่เชื่อมต่อเข้ากับบัส จะคอยตรวจดูว่าตำแหน่งปลายทาง ที่มากับแพ็กเกจข้อมูลนั้น ตรงกับตำแหน่งของตนหรือไม่ ถ้าใช่ก็จะรับข้อมูลนั้นเข้ามาสู่โหนดตน แต่ถ้าไม่ใช่ ก็จะปล่อยให้สัญญาณข้อมูลนั้นผ่านไป จะเห็นว่าทุก ๆ โหนดภายในเครือข่ายแบบ BUS นั้นสามารถรับรู้สัญญาณข้อมูลได้ แต่จะมีเพียงโหนดปลายทางเพียงโหนดเดียวเท่านั้น ที่จะรับข้อมูลนั้นไปได้
การควบคุมการสื่อสารภายในเครือข่ายแบบ BUS มี 2 แบบคือ แบบควบคุมด้วยศูนย์กลาง (Centralized) ซึ่งจะมีโหนดหนึ่ง ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางควบคุมการสื่อสารภายในเครือข่าย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นไฟล์เซิร์ฟเวอร์ การควบคุมแบบกระจาย (Distributed) ทุก ๆ โหนดภายในเครือข่าย จะมีสิทธิในการควบคุมการสื่อสาร แทนที่จะ เป็นศูนย์กลางควบคุมเพียงโหนดเดียว ซึ่งโดยทั่วไปคู่โหนดที่กำลังทำการส่ง-รับ ข้อมูลกันอย ู่จะเป็นผู้ควบคุมการสื่อสารในเวลานั้นข้อดีข้อเสียของโทโปโลยีแบบบัส


แบบดาว (star)

แบบดาว (star)

เป็นหลักการส่งและรับข้อมูล เหมือนกับระบบโทรศัพท์ การควบคุมจะทำโดยสถานีศูนย์กลาง ทำหน้าที่เป็นตัวสวิตชิ่ง ข้อมูลทั้งหมดในระบบเครือข่าย จะต้องผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง (Center Comtuper) เป็นการเชื่อมโยงการติดต่อสื่อสาร ที่มีลักษณะคล้ายกับรูปดาว (STAR) หลายแฉก โดยมีศูนย์กลางของดาว หรือฮับ เป็นจุดผ่านการติดต่อกันระหว่างทุกโหนดในเครือข่าย ศูนย์กลาง จึงมีหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมเส้นทางการสื่อสารทั้งหมด นอกจากนี้ศูนย์กลางยังทำหน้าที่ เป็นศูนย์กลางข้อมูลอีกด้วย
การสื่อสารภายในเครือข่ายแบบ STAR จะเป็นแบบ 2 ทิศทาง โดยจะอนุญาตให้มีเพียงโหนดเดียวเท่านั้น ที่สามารถส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายได้ จึงไม่มีโอกาสที่หลายๆ โหนดจะส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายในเวลาเดียวกัน เพื่อป้องกันการชนกันของสัญญาณข้อมูล เครือข่ายแบบ STAR เป็นโทโปโลยี อีกแบบหนึ่ง ที่เป็นที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน ข้อดีของเครือข่ายแบบ STAR คือการติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำได้ง่าย หากมีโหนดใดเกิดความเสียหาย ก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย และศูนย์กลางสามารถตัดโหนดนั้นออกจากการสื่อสาร ในเครือข่ายได้

แบบวงแหวน (ring)

แบบวงแหวน (ring)


เครือข่ายแบบ RING เป็นการส่งข่าวสารที่ส่งผ่านไปในเครือข่าย ข้อมูลข่าวสารจะไหลวนอยู่ในเครือข่าย ไปในทิศทางเดียว เหมือนวงแหวน หรือ RING นั่นเอง โดยไม่มีจุดปลาย หรือเทอร์มิเนเตอร์ เช่นเดียวกับเครือข่ายแบบ BUS ในแต่ละโหนดหรือสเตชั่น จะมีรีพีตเตอร์ประจำโหนด 1 เครื่อง ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข่าวสารที่จำเป็นต่อการสื่อสาร ในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล สำหรับการส่งข้อมูลออกจากโหนด และมีหน้าที่รับแพ็กเกจข้อมูล ที่ไหลผ่านมาจากสายสื่อสาร เพื่อตรวจสอบว่าเป็นข้อมูล ที่ส่งมาให้โหนดตนหรือไม่ ถ้าใช่ก็จะคัดลอกข้อมูลทั้งหมดนั้น ส่งต่อไปให้กับโหนดของตน แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยังรีพีตเตอร์ของโหนดถัดไป

โทโปโลยีแบบผสม (Hybridge Topology)

โทโปโลยีแบบผสม (Hybridge Topology)

เป็นเครือข่ายการสื่อสารข้อมูลแบบผสมระหว่างเครือข่ายแบบใดแบบหนึ่งหรือมากกว่า เพื่อความถูกต้องแน่นอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการและภาพรวมขององค์กร